วิทยาการคำนวณ คืออะไร?

สรุป “วิทยาการคำนวณ” ที่ต่อไปผู้ปกครองและเด็กหนุ่มสาวยุคใหม่ต้องรู้จักกัน

1) “วิทยาการคำนวณ” คือวิชาที่ปรับหลักสูตรมาจากวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
ต่อไปนี้เด็กตั้งแต่ประถม ถึงระดับมัธยม จะได้ร่ำเรียนกัน ถือว่าเป็นวิชาบังคับนะครับ อยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ พอเปิดเทอมพฤษภาคมปี 2561 ก็เริ่มเรียนแล้ว

2) เนื้อหาของวิทยาการคำนวณจะครอบคลุมวิชาเหล่านี้ในระดับพื้นฐาน

-วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science: CS)
-เทคโนโลยสารสนเทศและการสื่อสาร (Information Communication Technology: ICT)
-การรู้ดิจิทัล (Digital Literacy: DL)

 

3) หัวใจของวิชานี้คือ พื้นฐานการคิดเชิงคำนวณ (computational thinking) ที่มี 4 องค์ประกอบสำคัญ

-การแบ่งปัญหาใหญ่ให้เป็นปัญหาย่อย (decomposition)
-การมองหารูปแบบของปัญหา (pattern recognition)
– การคิดเชิงนามธรรม (abstraction)
– ออกแบบขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหา (algorithm design)

 

ซึ่ง 4 องค์ประกอบนี้จะแทรกซึมอยู่ในทุกระดับของหลักสูตร

 

โดยการคิดเชิงคำนวณไม่ใช่เรื่องของ #โปรแกรมเมอร์ แต่เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องมีทักษะการคิดแบบนี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ตัวเด็กยุคดิจิทัลในอนาคต

 

4) วิชานี้ไม่ได้สอนให้เด็กทุกคนกลายเป็น #โปรแกรมเมอร์

แต่สอนให้คิดเป็น และสามารถประยุกต์ใช้วิธีคิดเชิงคำนวณได้กับทุกสาขาอาชีพ

อีกทั้งเนื้อหาคอมพิวเตอร์หรือการเขียนโปรแกรม ถือว่าเป็นเพียงแค่ 1 ใน 3 ของวิทยาการคำนวณเท่านั้น

 

5) วิชานี้จะทยอยสอนปีละ 4 ชั้น เพื่อให้เด็ก คุณครูได้เรียนรู้และปรับตัวกันทัน

-เริ่มจาก ป.1 , ป.4 , ม.1 และ ม.4
-ปี 2562 จึงเริ่มสอนชั้น ป.2, ป.5, ม.2 และ ม.5
-พอปี 2563 ขยับไปสอนชั้น ป.3 ,ป.6 , ม.3 และ ม.6
-ใช้เวลาสามปีในการสอนจนครบทั้ง 12 ชั้นปี

 

6) หลักสูตรมีความยืดหยุ่นและให้อิสระกับโรงเรียน สามารถปรับเพิ่มหรือลดจำนวนชั่วโมงได้ตามความพร้อมของนักเรียน

 

7) ตำรามีคุณภาพสูง ปรับใช้ง่าย
อย่างในระดับประถม เขาออกแบบเป็นแนวการ์ตูน มีตัวละครเป็นหุ่นยนต์ เป็นตัวดำเนินเรื่อง พยายามลดเนื้อหาที่เยอะลงไป ให้เด็กเข้าใจมากยิ่งขึ้น

 

8) มันไม่ใช่วิชาที่เพิ่มการบ้าน หรือการทำโครงงานให้กับนักเรียน แต่เพิ่มโอกาสในการสร้างสรรค์งานในวิชาอื่นให้มีคุณภาพมากขึ้น

 

9) การเตรียมความพร้อมของครูผู้สอน
โดย สสวท.ได้จัดอบรมให้ครูคอมพิวเตอร์เมื่อกลางปี 2560 และในช่วงมีนาคม 2561 จะจัดอบรมอีกครั้ง

 

10) ผู้ปกครองจะช่วยลูกเตรียมตัวได้อย่างไร?

-ป.1 เน้นในเรื่องของการคิดและแก้ปัญหา ไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์มากนัก
-ป.4 เริ่มเรียน block programming ด้วยการใช้ scratch
-พอม.ต้น ถึงเริ่มมีการใช้ภาษาอย่าง python ในระดับพื้นฐานที่ไม่ยากและซับซ้อน
-ระดับม.ปลาย จะเน้นการทำโครงงานมากกว่า

 

11) การวัดผล ?เน้นการคิดให้เป็น? มากกว่าการท่องจำ

โดยเด็กเล็กจะวัดผลจากกิจกรรมในห้องเรียนและการสังเกตพฤติกรรม เช่น ให้เขียนขั้นตอนการทำไข่เจียวเพื่อวัดผลเรื่องอัลกอริทึมง่ายๆ

 

ส่วนเด็กโตจะเริ่มวัดผลแบบข้อเขียน แต่เปิดกว้างและเน้นคิดมากกว่าการท่องจำ

 

12) วิชานี้ไม่ได้ทำให้ลูกยิ่งติดหน้าจอ ติดเกม หรือโลกโซเชียล

 

เพราะหัวใจหลักสูตรต้องการ ?ให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ได้ สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาจากข้อมูลได้ และรู้เท่าทันเทคโนโลยี?

ดังนั้นวิชานี้จึงไม่ได้ออกแบบมาให้ลูกยิ่งติดหน้าจอ แต่จะช่วยให้ท่องโลกอินเตอร์เน็ตได้อย่างปลอดภัย และเป็นผู้สั่งงานคอมพิวเตอร์ มากกว่าถูกคอมพิวเตอร์ควบคุ

 

++++++++++++++++
เรียบเรียงจาก
https://school.dek-d.com/blog/?p=678
https://school.dek-d.com/blog/?p=649
https://www.facebook.com/oho.ipst/videos/1753377668060441/
http://oho.ipst.ac.th/cs4-2-vs-ict3-1/

 

เขียนโดย แอดมินโฮ โอน้อยออก