รู้ยัง! คนแบบไหนที่ Google ต้องการ

บทความนี้เขียนสรุปมาจากตอนที่คุณอ้อ พรทิพย์ กองชุน (อดีตผู้จัดการฝ่ายการตลาด Google ประเทศไทย ซึ่งทำงานอยู่เป็นเวลา 10 ปี แต่ปัจจุบันเธอได้ลาออกมาเปิดบริษัทตัวเองในนาม Jitta) โดยเธอได้เล่าประสบการณ์ทำงานที่ Google ให้กับคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2558

 

บุคคลที่บริษัท Google อยากจะรับเข้าทำงานด้วย มีอยู่ 4 ข้อดังนี้

1) General Cognitive Ability (ความสามารถในการทำงานต่าง ๆ)

Google ไม่ดูใบปริญญา ไม่ดูเกรด เพราะเกรดบอกอะไรไม่ได้ (สมัยก่อนจะดูชื่อมหาลัยว่าต้องเป็นชั้นนำของประเทศนั้น ๆ ถ้าเป็นเมืองไทยเมื่อก่อนก็จะเลือก จุฬา ธรรมศาตร์ และมหิดล เท่าน้้น แต่ปัจจุบันนี้ไม่ดูเกรดและมหาวิทยาลัยแล้ว)

ถ้าเราไม่จบคณะที่เปิดรับสมัครและประสบการณ์ไม่ตรง แต่ถ้าคุณมีความสนใจ มี passion และสามารถทำงานได้ เขาก็รับเข้าทำงาน?เคยมีเหมือนกันที่มีแดนเซอร์ระดับครูสอนที่ญี่ปุ่น มาสมัครและได้เป็น Sale manager

เมื่อคุณอยู่ที่ Google คุณต้องคิดเป็น

  • Strategical thinking?(คิดแบบกลยุทธ์)
  • Analytical thinking (คิดวิเคราะห์)
  • Logical thinking (คิดแบบตรรกะ)

เพราะเมื่อคุณอยู่ที่นี้ต้องทำเอง ตั้งแต่เริ่มต้นวางแผนงานและปฏิบัติเอง ไม่ใช่รับคำสั่งแล้วทำงานตามอย่างเดียว เวลาคุณนั่งล้อมวงประชุมกัน จะต้องรู้ว่าตัวเองต้องทำอะไร หรือจะมอบหมายงานให้คนอื่นทำอะไรได้ด้วย

2) Emergent Leadership

ไม่ใช่แปลว่าคุณต้องเป็นหัวหน้าทีม แต่หมายถึงว่าคุณต้องมีบุคลิกเป็นผู้นำ สามารถมีความคิดเห็น เสนอแนะ สามารถเป็นผู้นำในโปรเจค รวมทั้งช่วยเหลือทีมในการทำงานได้ดีขนาดไหน

แม้ว่าในโปรเจดจะมีหัวหน้าอยู่ก็จริง แต่ลูกทีมก็สามารถเป็นผู้นำได้ด้วย เพราะทุกคนต้องร่วมมือทำโปรเจคให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยกัน

3) Googleyness

สำหรับคำว่าทัศนคติที่ Google เขาจะมีคำศัพท์ที่เรียกกันในองค์กรว่า Googleyness

ที่นี้ต้องการคนที่เปิดกว้างอยากจะเรียนรู้ มีแรงผลักดัน มีเป้าหมาย อยากจะเปลี่ยนแปลงโลก (Big think) เพื่อให้ยูสเซอร์ที่มีอยู่ทั่วโลกได้ใช้งาน และเป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเขา หรือเอาไปใช้ในธุรกิจ หรือเอาไปใช้ในด้านการศึกษา

คุณต้องมีความรับผิดชอบและปรับตัวได้ ?เพราะที่นี้จะไม่มีการติดตามงาน คุณต้องวางแผนเอง ทำงานเอง แล้วรายงานผลการทำงานเมื่อสิ้นสุดไตรมาสเอง ที่นี้ไม่สนใจว่าคุณจะเข้าออฟฟิศหรือไม่ ไม่สนว่าคุณจะไปไหนระหว่างทำงาน คุณจะหลับ จะกิน จะนอน จะทำอะไรก็ได้?แต่ต้องรับผิดชอบงานให้ประสบความสำเร็จ เมื่อคุณเจอปัญหา คุณจะหาทางแก้ปัญหาอย่างไร (ไม่มีใครปล่อยทิ้ง และทุกคนก็เปิดใจช่วยกันแก้ปัญหา)

คุณต้องทำงานเป็นทีม ต้องพยายามคิดบวก (postive thinking) ยิ่งถ้าคุณซีเรียสเครียดเกินไป เขาก็ไม่รับเข้าทำงาน

คุณต้องกล้ารับความท้าทาย เช่น ฉันจะเป็นใคร อยู่ในตำแหน่งไหนใน Google หรือฉันจะเรียนรู้ จะทำอะไรต่อภายใน 5 ปี ?(ถ้าตอนสัมภาษณ์คุณบอกว่ามีแผนจะลาออกไปทำ start up หรือไปตั้งบริษัทเอง เขาก็จะจ้างคุณ)

(***ในบรรดา 4 ข้อนี้ ข้อที่สามสำคัญที่สุด เพราะ Google ต้องการคนแบบนี้มาก ๆๆๆๆๆ)

4) Creativity + Reason

เนื่องจาก Google เป็นบริษัทด้านนวัตกรรม จึงต้องการคนที่คิดผลงานสร้างสรรค์ที่มีผลกระทบต่อยูสเซอร์ให้ได้ด้วย ที่นี้จะแบ่ง 80% ให้พนักงานทำงานตามหน้าที่หลัก ส่วนอีก 20 % จะเปิดโอกาสให้คิดทำอะไรก็ได้ ที่อยากทำ เขาจะให้คุณคิดโปรเจคแล้วไปเสนอต่อหัวหน้า

ยกตัวอย่างเช่น?จุดกำเนิด Gmail เริ่มมาจากคนเพียง 2 คนที่นั่งกินข้าวด้วยกัน แล้วคิดทำกันเล่น ๆ แล้วไปเสนอหัวหน้า?จน CEO สนับสนุนให้พัฒนาต่อจนกลายมาเป็น Gmail เฉกเช่นปัจุบันนี้

ปกติแล้วโรงงานอาหารกูเกิลทั่วโลก เขาให้กินฟรีทุกเช้า กลางวัน เย็น และทุก ๆ 500 เมตรจะมีครัวให้กิน?แต่จุดประสงค์ที่เขาให้กินฟรีคือ เขาอยากให้ทุกคนมานั่งกินกัน มาคุยกัน แลกเปลี่ยนความคิดกัน แชร์ประสบการณ์กัน เพราะปรัชญาที่ Google อยากให้เกิดคือ?เวลาเจอคนแปลกหน้า ตอนกินข้าว ให้หันไปข้าง ๆ ลองคุยกับเขาดู ต้องรู้ว่าคนที่นั่งอยู่รอบข้างคุณ คือคนเก่ง คุณต้องเรียนรู้จากเขา

 


เกล็ดความรู้

  • Google จะมีเรซูเม่ส่งมาสมัคร 2-3 ล้านคนต่อปีทั่วโลก แต่รับจริงได้แค่ปีละ 5 พันคน
  • ถ้าสมัครตำแหน่งเทคนิเคิล ก็ต้องไปที่สิงคโปร์ ซิดนีย์ ญี่ปุ่น เกาหลี หรือยุโรป หรืออเมริกา (ในไทยไม่มี เพราะจะเน้นการขาย?การตลาด และ Business Development)
  • ส่วนคนไทยที่ทำ Developer ในอเมริกาก็มีเยอะเหมือนกัน

คำศัพท์ที่ใช้เรียกพนักงานของ Google

  • พนักงานบริษัท Google เรียกว่า “กูเกอร์”
  • เพิ่งเข้ามาทำงานเรียกว่า “นูเกอร์”
  • พนักงานที่ลาออกเรียกว่า “ซูเกอร์”
  • กลุ่มพนักงานที่เป็นเกย์เรียก “เกย์เกอร์
  • กลุ่มพนังงานอาวุโสเรียก “เกรย์ (gray) เกอร์”

 

รับคนเข้าทำงาน-page0002

 

เขียนโดย แอดมินโฮ โอน้อยออก