แปลกแต่จริง ! ปี 57 ?ตลาดซอฟต์แวร์ไทยโตเกิน GDP ของประเทศ เกือบ ๆ 6 เท่า
แต่ผลสำรวจคนสายคอม ฯ ตกงานมากสุดเป็นอันดับ 2
ข้อสงสัย ?
- เป็นเพราะคนหนุ่มสาวยุคใหม่ ไม่อยากก้าวเท้าเข้ามาในตลาดซอฟแวร์ ?ไม่อยากเป็นโปรแกรมเมอร์, SA, Tester, PM ฯลฯ แต่หันไปทำงานสายคอมด้านอื่น จนล้นตลาด หรือไม่?
- หรือระบบการศึกษาไทยมีปัญหาอย่างหนัก ผลิตบุคลากรที่จบออกมา ไม่ตรงกับความต้องการตลาดด้านคอม หรือไม่ ?
ถ้าใครได้อ่านข่าวที่เสนอโดย?http://campus.sanook.com/
ได้อ้างถึง ผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่างานสายคอม?ฯ มีคนตกงานมากสุด เป็นอันดับ 2
5 อาชีพ ที่คนตกงานมากสุดปี 2557 ได้แก่
- อันดับ 1 คือ อาชีพที่เกี่ยวกับการบริหารธุรกิจ/บริหารการพาณิชย์
- อันดับ 2 คือ สายงานคอมพิวเตอร์
- อันดับ 3 คือ สายวิศวกร
- อันดับ 4 คือ สังคมศาสตร์
- อันดับ 5 คือ สายมนุษยศาสตร์
คนที่กำลังเรียนสายคอม เมื่อเห็นผลสำรวจแล้ว ก็คงตกใจ แทบอยากจะเปลี่ยนสาขาเรียนทันที
แต่ทว่ามันช่างสวนทางกับตัวเลขการเติบโต ของตลาดซอฟแวร์ไทย เสียนี้กระไร
ข้อมูลต่อจากนี้?เป็นผลการสำรวจของ?ซิป้า?ร่วมกับ ทีดีอาร์ไอ?ซึ่งได้แสดงมูลค่าตลาดซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ของไทยในปี พ.ศ. 2556 และคาดการณ์เมื่อสิ้นปี 2557 ?(เผยแพร่เมื่อ 8 สิงหาคม?2557) รายละเอียดดังรูปข้างล่าง
Photo Credit : http://marketeer.co.th/2014/08/software/
Photo Credit : http://marketeer.co.th/2014/08/software/
Photo Credit : http://tdri.or.th/tdri-insight/software-survey-2013/
สรุป
- ตลาดซอฟต์แวร์และบริการของไทยปี 2557 จะชลอตัวลงมาก เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านี้ เพราะเหตุความวุ่นวายทางการเมือง?ทำให้หน่วยงานราชการหลายแห่งถูกปิดเมื่อต้นปีที่ผ่านมา?รวมทั้งปัญหาความล่าช้าในการตรวจรับงาน และการจัดซื้อซอฟต์แวร์และบริการ เนื่องด้วยมีการเปลี่ยนผู้บริหารหรือคณะกรรมการในรัฐวิสาหกิจและราชการ
- ถึงอย่างไรก็ตาม เป็นที่คาดการณ์ว่า ตลาดซอฟต์แวร์และบริการของไทยปี 2557 จะมีมูลค่าเติบโต 8.6 % สูงกว่า GDP ของประเทศที่เติบโตเพียง 1.5 % (หรือมากกว่า 5.73 เท่า หรือเกือบ ๆ 6 เท่า)
- ตลาดใหญ่สุดคือภาคเอกชน คิดเป็น 2 ใน 3 ส่วนภาคราชการคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 1 ใน 3 ของมูลค่าตลาดซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ (ไม่รวมซอฟต์แวร์สมองกลฝังตัว)
- ถ้าแยกเป็น การผลิตซอฟต์แวร์กับบริการซอฟต์แวร์?…บริการซอฟต์แวร์จะมีมูลค่ามากกว่า ซึ่งสวนทางกับการผลิตซอฟต์แวร์ที่มีอัตราการเติบโตที่สูงกว่า
ในผลการสำรวจ ยังกล่าวสรุปอีกว่า
“มูลค่าการผลิตซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ รวมทั้งซอฟต์แวร์สมองกลฝังตัวของไทยจะเติบโตต่อเนื่องแม้จะชะลอตัวลงบ้างในปีนี้ ?และจะสามารถเติบโตเพิ่มขึ้นได้อีกมากในอนาคต หากสามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่มีคุณภาพในทุกด้าน”
ส่งท้าย
- ภายในสิ้นปี 2557 ตลาดซอฟต์แวร์ไทยยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง เรียกว่าโตมากกว่า GDP ของประเทศเสียอีก ?แสดงว่าตลาดซอฟแวร์และบริการ ยังสดใส
- แต่ทว่าคนสายคอมกลับตกงานมากที่สุด เป็นอันดับ 2 ?…มันเกิดอะไรขึ้น ?
- ยิ่งล่าสุด ผมเห็นกระทรงไอซีที จะเปลียนชื่อเป็น “กระทรวงดิจิตอล อีโคโนมี”?หวังว่าคงเห็นการเปลี่ยนแปลงในวงการนี้นะครับ
เพิ่มเติม
ต่อไปนี้เป็นวิเคราะห์ของสมาชิกเฟสบุคชื่อคุณ Akelove Ake วิเคราะห์ได้ดีมาก เลยขออนุญาตินำมาลง ไม่มีการตัดตอนใด ๆ ครับ
“ต้องเข้าใจก่อนว่ายอดมูลค่าตลาดที่เห็น มันเป็นยอดของบริษัทรายใหญ่ ซึ่งจ้างคนไม่กี่คน เมื่อเทียบกับเเรงงานสายคอมทั้งประเทศ
สาเหตุที่ตกงานกัน ขอวิเคราะห์เฉพาะสายพัฒนาระบบก่อน คือเพราะ
- งานที่พัฒนาเเบบสร้างระบบขึ้นมาเฉพาะให้กับลูกค้าเเต่ละรายถูกเเย่งลูกค้าไป จากพวกซอฟต์เเวร์สำเร็จรูป เเทนที่จะจ้างคนมาทำระบบเสียเงินมาก ไปใช้โปรแกรมสำเร็จรูปกกว่า ยังไม่รวมลูกค้ารายย่อย ที่ใช้โปรแกรมเถื่อน เช่น ระบบบัญชีสำนักงาน ระบบคลังสินค้า เเผ่น 150 บาท ส่วนพวกเว็บก็เจอพวกเว็บให้ทำเว็บฟรี มาชน อีก งานเลยลดลงไป
- ปัจจุบันมีการผูกขาดการค้าจากส่วนกลาง ตัวอย่าง ในส่วนราชการ เมื่อก่อนหน่วยงานภูมิภาคระดับจังหวัด ถ้าจะพัฒนาระบบหรือเว็บก็จ้างหนึ่งสัญญาด้วยงบไม่มาก ใช้ในจังหวัดตัวเอง โดยจ้างบริษัทหรือคนในพื้นที่ให้พัฒนา เช่น ถ้ามี 77 จังหวัด ก็จะมีการจ้างงาน 77 งาน บริษัทเล็ก ๆ จึงมีงานส่วนราชการเข้ามา มีการจ้างคน
เเต่ตอนนี้ เขาใช้วิธีส่วนกลางทำสัญญากับบริษัทใหญ่ที่กรุงเทพให้พัฒนาระบบด้วยวงเงิน ก้อนโต ทำมาทีใช้ทั้งประเทศ งานเล็ก ๆ ก็หมดจาก 77 งานเหลือ งานเดียวซึ่งบริษัทใหญ่ที่ใกล้ชิดส่วนกลางได้งานไป เเละหน่วยงานภูมิภาคต้องไปใช้ระบบจากส่วนกลางหมด พวกงานทำเว็บ ทำระบบ,ฐานข้อมูลระดับกลาง ๆ เล็ก ๆ ตามต่างจังหวัดก็หมดไป บริษัทปิด การจ้างงานไม่มี
ซึ่งงานส่วนนี้หายไปมากเพราะลองคำนวนอย่างพาณิชย์จังหวัด เกษตรจังหวัด สำนักงานจังหวัด ฯลฯ มีทุกจังหวัด ถ้าเมื่อก่อนจ้างทำระบบจังหวัดละงาน งานสาย it ที่จะป้อนให้กิจการ it ภูมิภาคก็มีเป็นพัน ๆ งาน ตอนนี้ยุบเหลือ กรมละ 1 งาน ก็เท่ากับงานหายไปหลายพันงานเลย บริษัทภูธรที่ไม่มีงานก็ปิดไป คนก็ตกงาน - จากข้อสอง เมื่องานราชการน้อยลง ก็ต้องมาเเย่งรับงานเอกชนเล็ก ๆ เช่น ทำเว็บ ทำระบบให้ร้านค้าเล็ก ๆ เช่น ร้านทอง ร้านขายของ คอนโด ฯลฯ เมื่อลงมาเเย่งงานกันมากก็เเข่งราคาถูกกันลงเรื่อย ๆ เเละลูกค้ารายเล็กงบก็ไม่มาก เเละก็ไม่จ้างบ่อย ทำเเล้วก็เเทบจะใช้กันไปยาวเลย ดังนั้นเมื่อรายได้จากลูกค้าราชการก็ไม่มี เเถมรายได้จากลูกค้าเอกชนก็ตัดราคากัน กระจายเเย่งลูกค้้ากัน การจ้างงานของบริษัท it กลาง ๆ – เล็ก ๆ ก็น้อยลงมาก
- เมื่อบริษัทเอกชน ภูธร ขนาดกลาง ขนาดเล็ก อยู่ไม่ได้ หรือ จะรับงาน freelance ก็ตัดราคากันเเย่งลูกค้ากัน สุดท้ายก็ไม่พอกินกัน ก็เหลือทางเลือกคือ วัดกันใครสอบเข้าไปทำงานบริษัทมั่นคงได้ หรือไปสอบบรรจุเข้าหน่วยงานต่าง ๆ ได้ก็ดีไป เเต่ตำเเหน่งว่างก็มีไม่มากเมื่อเทียบกับที่สถานศึกษา นโยบายรัฐ ส่งเสริมให้คนเรียน it จบมามากมาย เเต่ไม่มองเรื่องตลาดเเรงงาน”
ข้อมูลอ้างอิง
เขียนโดย แอดมินโฮ โอน้อยออก